จันทร์-ศุกร์ 09.00 - 20.00 / เสาร์ 9.00-17.00 / อาทิตย์ 09.00-16.00
มีคำถามไหม? โทรหาเราที่ 094-608-0022
การวิเคราะห์น้ำอสุจิ (Semen analysis)
การตรวจเลือด
ในกรณีที่ไม่มีตัวอสุจิเลย อาจจะสามารถเก็บตัวอสุจิได้ด้วยการเจาะดูดน้ำจากท่อเก็บอสุจิโดยตรง(PESA) หากตรวจไม่พบตัวจากการเจาะดูดน้ำ อาจะทำการดูดเก็บเนื้อเยื้อปริมาณเล็กน้อยที่อัณฑะโดยตรงเพื่อหาตัวอสุจิที่คงค้างอยู่ในท่อสร้างอสุจิ (TESE) การเจาะดูดนี้จะทำในห้องผ่าตัดโดยใช้ยาดมสลบ เซลล์อสุจิที่ได้จะนำไปแช่แข็งเพื่อใช้ในการรักษาแบบปฏิสนธินอกร่างกายแบบ ICSI ต่อไป
การตรวจเลือด
ความสามารถในการมีบุตรของผู้หญิงถูกควบคุมด้วยหลายปัจจัย โดยฮอรโมนต่างๆเป็นหนึ่งในตัวควบคุมหลัก การตรวจเลือดวัดระดับฮอร์โมน เช่น ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง (Follicle-stimulating hormone; FSH) และรังไข่ (Estrogen และ progesterone) ซึ่งช่วยบอกการทำงานของรังไข่ และปริมาณของไข่ที่เหลืออยู่ นอหจากนี้อาจจะมีการตรวจดูการทำงานของต่อมไทรอยด์ และฮอร์โมนโปรแลกติน (Prolactin) เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีเนื้องอกที่ต่อมใต้สมอง
อย่างไรก็ตามการตรวจดูค่าการทำงานของรังไข่ด้วย FSH และ Estrogen ไม่เป็นที่นิยมแล้ว เนื่องจากต้องมาเจาะในช่วงวันที่ 2-5 ของรอบประจำเดือนเท่านั้น และค่ามีการแกว่งค่อนข้างมาก ปัจจุบันจึงใช้ AMH (anti-mullerian hormone) ซึ่งแม่นยำมากกว่า และไม่มีการแกว่งตามวันของรอบเดือนจึงสะดวกกับคนไข้มากกว่าเนื่องจากสามารถเจาะได้ทุกวันของรอบเดือน
วิธีการประเมินการตกไข่
การตกไข่ (การปล่อยเซลล์ไข่ออกจากรังไข่) เป็นขั้นตอนสำคัญในการตั้งครรภ์ ภาวะการตกไข่ผิดปกติ สามารถตรวจได้จากประวัติประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ หรือระดับฮอร์โมนบางตัวผิดปกติ เช่น การตรวจระดับฮอร์โมน LH ช่วงครึ่งแรกของรอบเดือน (ก่อนตกไข่) หรือฮอร์โมนโปรเจสเตอร์โรนในช่วงครึ่งหลังของรอบประจำเดือน (luteal phase) (รูปที่ 2)
ประวัติการมีประจำเดือน
การที่ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอเป็นสัญญาณบอกถึงความไม่สมํ่าเสมอของการตกไข่ หรืออาจจะเกิดจากภาวะไม่ตกไข่เรื้อรัง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการตั้งครรภ์ให้เกิดการตั้งครรภ์ยากได้
อุณหภูมิของร่างกาย
การวัดอุณหภูมิร่างกาย (วัดก่อนลุกจากเตียงในตอนเช้า) เคยเป็นวิธีที่นิยมเพื่อหาว่ามีการตกไข่หรือไม่่ โดยทั่วไปผู้หญิงมักมีอุณหภูมิร่างกายเพิ่มขึ้น 0.5 º F ถึง 1.0 º F หลังมีการตกไข่ อย่างไรก็ตามการวัดอุณหภูมิร่างกายไม่สามารถใช้แปลผลได้ชัดเจน และพบว่าผลผิดพลาดได้บ่อยๆ จึงมักไม่แนะนำให้ใช้เพื่อการประเมินภาวะการมีบุตรยาก
ระดับฮอร์โมน LH
ระดับของลูทิไนซิงฮอร์โมน หรือ Luteinizing hormone (LH) จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วก่อนเกิดการตกไข่ประมาณ38 ชั่วโมง ผู้ป่วยสามารถตรวจเองได้ที่บ้านโดยชุดตรวจปัสสาวะที่มีขายตามท้องตลาด อย่างไรก็ตามชุดตรวจดังกล่าวนี้มีอัตราตรวจผิดพลาดได้ประมาณร้อยละ 15
ระดับฮอร์โมน progesterone
การตรวจระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอร์โรน (Progesterone) นั้นเป็นการตรวจการตกไข่ที่แม่นยำกว่า โดยปกติระดับของฮอร์โมนโปรเจสเตอร์โรนจะเพิ่มขึ้นหลังจากการตกไข่
พังผืดและการอุดตันของท่อนำไข่อาจเกิดขึ้นจากอุ้งเชิงกรานอักเสบติดเชื้อ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) และพังผืดที่เกิดจากการติดเชื้อหรือการผ่าตัดในช่องท้อง
การทดสอบทางพันธุกรรม
เลขที่ 117/27 หมู่ 2 ซอยเลียบคันคลอง ถนนโพธาราม ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50300
© สงวนลิขสิทธ์ พ.ศ.2560-2567, เชียงใหม่ ไอ.วี.เอฟ. สหคลินิก
เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณ ท่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายคุกกี้ และ คำประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว
การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอม ให้เราจัดเก็บคุกกี้ตามนโยบายที่แจ้งในเบื้องต้น ยอมรับ